เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรเทียม

คหบดีบุตร คนที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อ่านฝ่ายเดียว เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการนี้แล
[256] คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่เป็นอดีตไปแล้ว
2. กล่าวต้อนรับด้วยเรื่องที่ยังมาไม่ถึง
3. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
4. เมื่อมีกิจเกิดขึ้นเฉพาะหน้าก็แสดงความขัดข้อง
คหบดีบุตร คนดีแต่พูด เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดย
เหตุ 4 ประการนี้แล
[257] คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. เพื่อนทำชั่ว ก็คล้อยตาม
2. เพื่อนทำดี ก็คล้อยตาม
3. สรรเสริญต่อหน้า
4. นินทาลับหลัง
คหบดีบุตร คนพูดประจบ เธอพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม
โดยเหตุ 4 ประการนี้แล
[258] คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่
มิตรแท้ เป็นมิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการ คือ
1. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :208 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [8. สิงคาลกสูตร] มิตรมีใจดี

2. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเที่ยวไปตามตรอกซอกซอยในเวลา
กลางคืน
3. เป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4. เป็นเพื่อนที่ชักชวนให้หมกมุ่นในการเล่นการพนันอันเป็นเหตุแห่ง
ความประมาท
คหบดีบุตร คนที่เป็นเพื่อนชักชวนไปในทางเสื่อม พึงทราบว่า ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
มิตรเทียม โดยเหตุ 4 ประการนี้แล”
[259] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
“บุคคลที่ไม่ใช่มิตรแท้ 4 จำพวกนี้ คือ
(1) มิตรที่ถือเอาแต่ประโยชน์จากผู้อื่นอย่างเดียว
(2) มิตรดีแต่พูด (3) มิตรพูดประจบ
(4) มิตรชักนำในทางเสื่อม
บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล
เหมือนคนเว้นทางมีภัยเฉพาะหน้าเสียฉะนั้น”

มิตรมีใจดี

[260] คหบดีบุตร คน 4 จำพวกนี้ เธอพึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี(มิตรแท้)
คือ
1. มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
2. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
3. มิตรแนะนำประโยชน์ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี
4. มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่า เป็นมิตรมีใจดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :209 }